วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

           
ชนิดของยุง

            ยุง เป็นสัตว์ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เราทราบกันดีว่ายุงนำโรคมาสู่คน แต่ในปัจจุบันจะรู้จักกันว่าเป็นสัตว์ตัวเล็ก ที่คอยกัดคนรบกวนก่อความรำคาญทั้งกลางวัน และกลางคืน  ยุง (mosquito) จัดเป็นแมลงพาหะนำโรคหลายชนิด อาทิ โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเลีย โรคเท้าช้าง โรคเด็งกิ และโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข ประกอบด้วยยุงที่สำคัญ ได้แก่ ยุงลาย ยุงก้นปล่อง ยุงรำคาญ และยุงเสือยุง เป็นแมลง 2 ปีก หนวดยาวมีจำนวน 13 ปล้อง เส้นปีก และขอบปีกด้านท้าย( posterior margin of wing ) ปกคลุมด้วยเกร็ด ( scales ) ปากเป็น proboscis(งวง) ยาว       

ชนิดของยุงและการนำโรค

ยุงถ้าสังเกตลักษณะจะมีหลายชนิด จากการศึกษาพบว่ามีเป็นพัน ๆ ชนิดและอาศัยในทั้งที่ราบที่สูง      ในบ้านและนอกบ้าน ชอบดูดกินเลือดของคนและสัตว์ ยุงในเมืองโดยส่วนใหญ่รู้จักกัน 4 ชนิด คือ             ยุงก้นปล่อง ยุงลาย ยุงดำ และยุงรำคาญ
1. ยุงก้นปล่อง


ยุงก้นปล่องเป็นยุงที่สังเกตได้คือเวลาเกาะหรือกำลังดูดเลือด ลำตัวจะทำมุมกับพื้นยึดเกาะ 45 องศา  ยุงก้นปล่องเป็นยุงนำโรคไข้ป่า หรือโรคไข้มาเลเรีย อาศัยได้หลายที่ เช่น บ้าน ในป่า และภูเขา จึงพบมากในชนบทที่อยู่แถวชายป่า ชอบไข่ในน้ำไหลริน ในแอ่งน้ำสะอาด ยุ่งนี้ชอบกัดคนในเวลาพลบค่ำ ตอนดึก และเช้าตรู่
2. ยุงลาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ย่อยค่ะ ได้แก่ ยุงลายบ้านและยุงลายสวน
• ยุงลายบ้าน มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา มักพบตามบริเวณบ้านในเขตเมือง และเลือกวางไข่บนบริเวณน้ำขัง โดยเฉพาะที่อยู่ในภาชนะต่าง ๆ เช่น ตุ่มน้ำ จานรองขาตู้ ยางรถยนต์เก่า ถึงจะมีขนาดเล็ก แต่สามารถบินฉวัดเฉวียนได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย และโรคไข้เหลืองในแถบอเมริกาใต้

 ยุงลายสวน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปเอเชีย มักพบได้ตามสวนผลไม้ สวนยาง หรืออุทยานต่าง ๆ เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำสะอาด สามารถบินได้ไกลกว่ายุงลายบ้าน และเป็นพาหะนำโรคไข้ชิคุนกุนยา และไข้เลือดออก ซึ่งผู้ใดก็ตามที่เป็นโรคนี้ มีโอกาสเสียชีวิตประมาณ 5-10% ค่ะ

3. ยุงดำ
ยุงดำเป็นยุงมีสีดำปนน้ำเงินที่ลำตัว ชอบกัดคนตอนหัวค่ำ ตอนดึกและตอนเช้าตรู่ ยุงดำเป็นยุงนำโรคเท้าช้าง ซึ่งเชื้อของโรคนี้มักพบมากในแถวชนบท ทางภาคใต้ของประเทศไทย
4. ยุงรำคาญ
ยุงรำคาญหรือยุงธรรมดา ตัวไม่โต ลำตัวมีสีเทา ขาและปีกไม่ลาย ชอบอยู่รอบๆ บ้าน และในบ้าน กัดคนไม่เลือกเวลา ยุงนี้ไม่นำโรค แต่กัดเจ็บคัน ๆ ทำให้รำคาน
วงจร ชีวิตของยุง
มี ระยะคือ ไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย

ไข่
          ไข่ยุงมีขนาดเล็กมากประมาณ มิลลิเมตรเท่านั้น แต่ก็ยังสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไข่ยุงมีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันไป ไข่ยุงก้นปล่องมีทุ่นลอยใสๆ ติดอยู่ด้านข้างของไข่ช่วยพยุงให้ไข่ลอยน้ำได้ ไข่ยุงลายไม่มีทุ่นลอยแต่เกาะติดอยู่ตามผนังภาชนะกักเก็บน้ำ เช่น โอ่งน้ำ โดยเกาะติดอยู่ตามขอบเหนือระดับน้ำเล็กน้อย ไข่ยุงรำคาญเรียงตัวเกาะกันเป็นแพอยู่บนผิวน้ำ ไข่ยุงเสือเกาะติดอยู่ตามขอบใต้ใบพืชน้ำบางชนิดที่อยู่ปริ่มน้ำ ยุงวางไข่ครั้งละประมาณ 100 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ วัน ก็จะออกมาเป็นลูกน้ำ
ลูกน้ำ
          แรกเริ่มเมื่อลูกน้ำฟักออกมาจากไข่ มีขนาดเล็กมากเป็นลูกน้ำระยะที่ จากนั้นลูกน้ำจะกินอาหารทำให้เจริญเติบโตขึ้นและลอกคราบเปลี่ยนเป็นลูกน้ำ ระยะที่ 2ซึ่งมีขนาดโตขึ้นแต่มีรูปร่างเหมือนเดิม ลูกน้ำจะกินอาหารและเจริญเติบโตขึ้นอีกเป็นลูกน้ำระยะที่ และ ต่อไป การเปลี่ยนระยะแต่ละครั้งจะมีการลอกคราบเสมอ เมื่อลูกน้ำระยะที่ เจริญเต็มที่ก็จะลอกคราบครั้งสุดท้าย เปลี่ยนเป็นระยะตัวโม่ง ซึ่งมีลักษณะรูปร่างแตกต่างไปจากลูกน้ำอย่างมาก ระยะที่เป็นลูกน้ำใช้เวลาประมาณ วัน ลูกน้ำยุงก็มีรูปร่างลักษณะรวมทั้งการเกาะที่ผิวน้ำและนิสัยการกินอาหารแตก ต่างกันไป เช่น ลูกน้ำยุงก้นปล่องไม่มีท่อหายใจมีแต่เพียงรูหายใจ จึงลอยตัวขนานกับผิวน้ำและหาอาหารที่ผิวน้ำ ลูกน้ำยุงลายมีท่อหายใจสั้น เกาะที่ผิวน้ำโดยห้อยหัวอยู่ใต้น้ำและหาอาหารที่ก้นภาชนะกักเก็บน้ำ ลูกน้ำยุงรำคาญมีท่อหายใจยาว เกาะที่ผิวน้ำโดยห้อยหัวอยู่ใต้น้ำเช่นกันแต่หาอาหารที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ
ตัวโม่ง
         มีลักษณะรูปร่างที่เด่นชัดคือหัวโต ตามปกติจะลอยตัวนิ่งๆ ที่ผิวน้ำ แต่ถ้าถูกรบกวนจะเคลื่อนที่ได้อย่างว่องไว ระยะตัวโม่งนี้จะหยุดกินอาหารและเป็นระยะสุดท้ายที่ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำ ระยะตัวโม่งใช้เวลาประมาณ วัน เพื่อให้ตัวอ่อนที่อยู่ภายในเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนที่จะลอกคราบออกมาเป็น ตัวยุงตัวเต็มวัย
          ระยะเวลาเริ่มจากยุงวางไข่จนกระทั่งเจริญจนถึงยุงตัวเต็มวัย ในประเทศเขตร้อยชื้นอย่างเช่นประเทศไทยนั้นใช้เวลาประมาณ 10 วันเท่านั้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดยุงด้วย
ตัวเต็มวัย
          เมื่อตัวโม่งเจริญเต็มที่จะลอยนิ่งๆ อยู่กับที่ จากนั้นเปลือกหุ้มบริเวณส่วนหัวของตัวโม่งเริ่มปริออก ตัวยุงที่อยู่ภายในจะค่อยๆ ดันออกมา ขณะที่ตัวยุงโผล่พ้นเปลือกตัวโม่งเกือบหมดเหลือเฉพาะส่วนขา ก็จะเริ่มคลี่ปีกออก เมื่อปลายขาหลุดออกมาหมดแล้วก็จะเกาะอยู่บนผิวน้ำหรือบริเวณใกล้เคียงประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ปีกแข็งแรงพอที่จะบินได้ ตามปกติแล้วยุงตัวผู้ออกมาก่อนยุงตัวเมียและอาศัยบริเวณแหล่งเพาะพันธุ์ตลอด ชีวิต กินอาหารพวกน้ำหวานจากพืชโดยไม่กินเลือด ยุงตัวผู้มีอายุสั้นกว่าตัวเมีย ส่วนยุงตัวเมียเมื่อออกมาจากตัวโม่งจะกินอาหารพวกน้ำหวานจากพืชก่อน เพื่อให้มีพลังงาน จากนั้นก็ผสมพันธุ์โดยยุงตัวเมียผสมพันธุ์ครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิตก็ สามารถออกไขได้ตลอดไป เมื่อยุงตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์แล้วก็จะหาอาหารเลือดซึ่งมีโปรตีนและธาตุ อาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของไข่ โดยทั่วไปถ้ายุงตัวเมียไม่ได้กินเลือด ไข่ก็ไม่เจริญจึงไม่สามารถวางไข่ต่อไปได้ ยุงแต่ละชนิดชอบกินเลือดเหยื่อแตกต่างกันไป ยุงบางชนิดชอบกินเลือดคน เช่น ยุงลาย ยุงบางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ เช่น ยุงรำคาญ ยุงบางชนิดชอบกินทั้งเลือดคนและเลือดสัตว์
เมื่อยุงได้กินเลือดเต็มที่แล้ว ก็จะไปหาบริเวณที่เหมาะสม เกาะพักนิ่งๆ เพื่อรอเวลาให้ไข่เจริญเติบโต เช่น ตามที่อับชื้น เย็นสบายลมสงบและแสงสว่างไม่มาก ยุงบางชนิดชอบเกาะพักภายในบ้านตามมุมมืดที่อับชื้น ยุงบางชนิดชอบเกาะพักนอกบ้านตามสุ่มทุมพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้น ในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเรา ยุงจะใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ไข่ก็สุกเต็มที่พร้อมที่จะวางไข่ได้ ยุงแต่ละชนิดเลือกแหล่งน้ำสำหรับวางไข่ไม่เหมือนกัน บางชนิดชอบน้ำใส นิ่ง เช่น ยุงลาย บางชนิดชอบน้ำโสโครกตามท่อระบายน้ำ เช่น ยุงรำคาญ ยุงบางชนิดชอบวางไข่ตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ยุงก้นปล่อง ยุงวางไข่ครั้งละประมาณ 100 ฟอง เมื่อยุงวางไข่แล้วก็จะบินไปหากินเลือดอีกสำหรับไข่ในรุ่นต่อไปวนเวียนอยู่ เช่นนี้จนกระทั่งยุงแก่ตาย ยุงตัวเมียโดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ เดือน ส่วนยุงตัวผู้มีอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย โดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ สัปดาห์ รูปภาพ : วงจรชีวิตของยุง
โรคติดต่อนำโดยยุงที่สำคัญในประเทศไทย

1. โรคมาลาเรีย
          แหล่งแพร่โรคอยู่ในท้องที่ป่าเขา โดยเฉพาะตามแนวชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าและกัมพูชา เชื้อโรคมาลาเรียคือ โปรโตซัว ซึ่งเป็สสัตว์เซลล์เดียวมีขนาดเล็กมากมีชื่อเรียกว่าพลาสโมเดี่ยม ซึ่งมีอยู่ ชนิดด้วยกัน แต่ที่มีอันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตคือ พลาสโมเดี่ยม ฟาลซิฟารั่ม
2. โรคไข้เลือดออก
          แหล่งแพร่โรงอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในเขตเมืองและชนบททุกจังหวัดทั่วประเทศ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก เชื้อโรคไข้เลือดออกคือไวรัสที่มีชื่อว่า เดงกี่ไวรัส ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักเสียชีวิตเนื่องจากเกิดการช็อค
3. โรคเท้าช้าง
          แหล่งแพร่โรคอยู่ในท้องที่ชนบทเฉพาะทางภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศ เชื้อโรคเท้าช้างคือพยาธิตัวกลมขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในกระแสโลหิตของผู้ป่วย โรคนี้ทำให้เกิดแขน เท้า ลูกอัณฑะบวมโต เกิดความพิการตามมาแต่โรคไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีเท้าบวมใหญ่คล้ายเท้าของช้าง จึงเรียกโรคนี้ว่าโรคเท้าช้าง
4. โรคไข้สมองอักเสบ
          แหล่งแพร่โรคอยู่ในท้องที่ชนบทโดยเฉพาะทางภาคเหนือบริเวณที่มีการเลี้ยงสุกร มาก โรคนี้ตามปกติเป็นโรคติดต่อในสัตว์ด้วยกันเองเท่านั้น การที่โรคติดต่อมาถึงคนได้นั้นนับเป็นการบังเอิญที่คนไปถูกยุงที่มีเชื้อโรค กัด เชื้อโรคไข้สมองอักเสบคือไวรัสที่มีชื่อว่า แจแปนิส เอนเซบ ฟาไลติส ไวรัส ถึงแม้จำนวนผู้ป่วยโรคนี้มีไม่มาก แต่โรคนี้ทำให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้โดยง่ายหรือทำให้เกิดความ พิการทางสมองตามมาได้
การป้องกันส่วนบุคคล 
          - ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง 

          - การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี 


          - การใช้กลิ่นกันยุง เช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ 
          - นอนในมุ้ง

          - การควบคุมยุงโดยทางชีวะ 

          - เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ 

          - ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุง ได้แก่ เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) และ Bacillus sphaericus (Bs) 

          - การใช้เครื่องมือดักจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนามบินของสิงคโปร์ แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธุ์ของยุง  


ฉีดสารเคมี ไข้เลือดออก

การใช้สารเคมีในการควบคุม 
          - ใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความชุกของยุงมากกว่าปกติ
          - ใช้สารลดแรงตึงผิว เช่น ผงซักฟอก สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน ฉีดพ่นกำจัดยุง เพราะสารดังกล่าวจะไปทำลายระบบการหายใจของแมลง ทำให้แมลงตายได้ 
           - ใช้ "ทรายอะเบท" กำจัดยุงลาย โดยให้นำทรายอะเบท 1 กรัม ใส่ในภาชนะที่มีน้ำขัง (อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร หรือ 20 กรัม) จะป้องกันไม่ให้เกิดลูกน้ำได้นานประมาณ 1-2 เดือนเลยทีเดียว ซึ่งหลังจากใช้เสร็จแล้วต้องเก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด รวมทั้งเก็บในที่เย็น แห้ง และมีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ

           - การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปี แต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก